ผลประโยชน์ที่ได้รับ | มากที่สุด | มาก | ปานกลาง | น้อย | น้อยที่สุด | ไม่เห็นด้วย |
ความถี่ของค่าสังเกต | 114 | 195 | 104 | 72 | 20 | 8 |
ร้อยละของค่าสังเกต | 22.22 | 38.01 | 20.27 | 14.04 | 3.90 | 1.56 |
ข้อมูลที่ได้แบบสอบถาม
มีจำนวน 57 คน ซึ่งเป็นคนที่ใช้แก๊ส NGV และ LPG โดยส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลอยู่ในระดับมากและมากที่สุดกว่า ร้อยละ 50 ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องแก๊ส NGV และ LPG
4. ผู้ชายที่ไม่ใช้แก๊สหรือไม่เคยใช้แก๊ส
ผลประโยชน์ที่ได้รับ | มากที่สุด | มาก | ปานกลาง | น้อย | น้อยที่สุด | ไม่เห็นด้วย |
ความถี่ของค่าสังเกต | 10 | 23 | 30 | 9 | 6 | 3 |
ร้อยละของค่าสังเกต | 12.34 | 28.40 | 37.04 | 11.11 | 7.41 | 3.70 |
ข้อมูลที่ได้แบบสอบถาม
มีจำนวน 30 คน ซึ่งจากข้อมูลที่ได้นั้นส่วนใหญ่แล้วได้รับประโยชน์จากการใช้แก๊ส NGV และ LPG อยู่ในระดับปานกลาง ผู้ที่คิดว่าแก๊ส NGV และ LPG มีประโยชน์น้อยที่สุด ร้อยละ 7.41 และมีจำนวนที่ไม่แสดงความคิดเห็นเป็น ร้อยละ 3.70 ซึ่งจากคนกลุ่มนี้ อาจสันนิษฐานได้ว่ายังไม่มีความรู้ด้านประโยชน์และด้านการใช้แก๊ส NGV และ LPG แต่ส่วนใหญ่ถึงไม่เคยใช้ แต่คิดว่ามีประโยชน์
การประเมินและวิเคราะห์โดยรวมทั้งหมด
ผลประโยชน์ที่ได้รับ | มากที่สุด | มาก | ปานกลาง | น้อย | น้อยที่สุด | ไม่เห็นด้วย |
ผู้ชายที่ใช้แก็ส | 22.22 | 38.01 | 20.27 | 14.04 | 3.90 | 1.56 |
ผู้ชายที่ไม่ใช้แก็ส | 12.34 | 28.40 | 37.04 | 11.11 | 7.41 | 3.70 |
ผู้หญิงที่ใช้แก็ส | 27.78 | 45.14 | 18.75 | 6.94 | 1.39 | 0 |
ผู้หญิงที่ไม่ใช้แก็ส | 10.16 | 35.93 | 38.06 | 11.82 | 2.84 | 1.18 |
ผลรวมร้อยละของค่าสังเกต | 72.5 | 147.49 | 114.12 | 43.91 | 15.54 | 6.44 |
ร้อยละของค่าสังเกตทั้งหมด | 18.12 | 36.87 | 28.54 | 10.98 | 3.88 | 1.61 |
จากการสุ่มตัวอย่างทั้งหมด 150 คน สามารถแยกวิเคราะห์เป็นประเด็นได้หลายประเด็น ทั้งคนที่ใช้และคนที่ไม่ใช้แก๊ส NGV และ LPG ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรดังนี้
วิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ที่ได้ทำแบบสอบถามดังนี้
แก๊ส NGV และ LPG ช่วยลดค่าใช้จ่าย จากแบบสอบถาม คนส่วนใหญ่ ออกความคิดเห็นว่าราคาถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง จึงทำให้ประหยัดราคาค่าน้ำมัน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมถึงด้านการขนส่งสินค้าต่างๆอีกด้วย
แก๊ส NGV และ LPG ช่วยลดมลภาวะทางอากาศ ลดภาวะโลกภาวะร้อนและมลภาวะทางเสียง จากข้อมูลที่ได้ แก๊ส NGV และ LPG ส่งผลให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อมน้อยลง ควันจากการเผาไหม้น้อยลง เสียงเบา จึงช่วยลดมลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางเสียงลดรวมถึงช่วยลดภาวะโลกร้อนได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเชื่อเพลิงทั่วไป
ประสิทธิภาพของแก๊ส NGV และ LPG เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเชื่อเพลิงทั่วไป
แก๊ส NGV และ LPG สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไป และสามารถทดแทนกันได้ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ได้ทราบว่าแก๊ส NGV และ LPG มีผลข้างเคียงต่อเครื่องยนต์เล็กน้อย คือเครื่องยนต์มีการเผาไหม้ไม่ต่อเนื่อง
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ส่วนใหญ่แล้วข้อมูลที่ได้มานั้นจะระบุว่าในการติดตั้งเครื่องระบบของแก๊ส NGV และ LPG นั้นใช้ต้นทุนในการติดตั้งสูงพอสมควร แต่ก็เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพียงครั้งแรกเท่านั้น
สถานีบริการแก๊ส NGV และ LPG ในบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวร ข้อมูลที่ได้มานั้นจะเห็นได้ว่าสถานีในการบริการนั้นน้อยมาก ซึ่งนั่นหมายถึงยังมีผู้ใช้แก๊ส NGV และ LPG ในมหาวิทยาลัยนเรศวรน้อยมาก
สรุป
ปริมาณการใช้รถที่ใช้แก๊ส NGV และ LPG ในมหาวิทยาลัยนเรศวรมีปริมาณน้อยและถือได้ว่าน้อยมาก นั้นเกิดจากสาเหตุหลายประการที่ทำให้ยังไม่มีการนิยมใช้แก๊ส NGV และ LPG มากนัก โดยสรุปแล้วสาเหตุหลักที่ได้จากการสำรวจคือค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง สถานีบริการ ประสิทธิภาพมีผลต่อเครื่องยนต์ และมีข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายด้านค่าเชื้อเพลิง ซึ่งสมมุติฐานหลักที่ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น แก๊ส NGV และ LPG ส่วนใหญ่ แล้วทุกคนล้วนแต่ได้รับประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ผลดีที่เกิดจากการใช้แก๊ส NGV และ LPG ที่สำรวจในมหาวิทยาลัยนเรศวรคือลดมลภาวะทางเสียง มลภาวะทางอากาศ และส่งผลให้ระบบการขนส่งดีขึ้น
วิจารณ์
หากมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมให้รณรงค์ด้านการช่วยลดมลภาวะต่างๆมากขึ้นหรือมีการส่งเสริมอย่างจริงจังคาดว่าการใช้แก๊ส NGV และ LPG แทนน้ำมันเชื้อเพลิงในมหาวิทยาลัยจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นและส่งผลดีต่อระบบการขนส่งต่อไป